การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การควบคุมใช้งานฟังก์ชั่นวิดีโอในตัวกล้อง #1

การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การควบคุมใช้งานฟังก์ชั่นวิดีโอในตัวกล้อง #1

เรามาเรียนรู้ฟังก์ชั่นในการถ่ายวิดีโอของกล้อง Fujifilm ว่ามีอะไรกันบ้าง ตั้งค่ายังไง ใช้งานยังไง และได้ผลออกมาอย่างไร ดูเสร็จรับรองว่าใช้กล้อง Fujifilm คล่องแน่นอน

ความละเอียดไฟล์ในงานวิดีโอ

วิดีโอมีความละเอียดหลายฟอร์แมตมาก ตั้งแต่ความละเอียดต่ำๆ ประมาณ 300 กว่าไปจนถึง 4K เราสามารถดูตามตารางได้เลย…

จะเป็นความละเอียดตั้งแต่ HD, Full HD และ 4K โดยปกติทางกล้องกล้วยกล้วยจะถ่าย 4K เป็นหลัก ซึ่ง 4K มีข้อดีคือเวลาเราไปออกอากาศบน youtube หรือ Facebook ตอนนี้รองรับความละเอียด 4K แล้ว แต่ถ้าเกิดไม่ได้ต้องการที่จะพรีเซ้นคุณภาพของไฟล์วิดีโอขนาดนั้น เราก็ทำเป็น Full HD ก็ได้ ข้อดีข้อที่สองก็คือเวลาเราต้องการตัดครอปวิดีโอ ก็สามารถครอปได้ ข้อดีข้อที่สามก็คือ เวลาถ่าย 4K โดยปกติจะอ่านข้อมูลบนเซ็นเซอร์ทุกแถว ในทุกจุด จะได้ภาพที่มีความคมชัดและความละเอียดสูงสุด ถ้าถ่ายต่ำกว่านั้นจะมีการอ่านแล้วก็เว้น จะทำให้ความคมชัดลดลง

เฟรมเรต (Frame Rate)

เฟรมเรต คือ จำนวนภาพที่วิ่งใน 1 วินาที ก็จะมีตั้งแต่ 24P, 25P ไปจนถึง 100P ปกติเวลาดูภาพก็จะมีมาตรฐานอยู่ที่เราดูระบบอะไร เฟรมเรตของแต่ละมีเดียก็สามารถดูตามตารางได้เลย

ในการทำงานของกล้องกล้วยกล้วยจะเน้นถ่ายเป็น 4K ซึ่งจะใช้เฟรมเรตอยู่ที่ 29.97P เป็นปกติ ซึ่งเฟรมเรตขนาดนีเสามารถออกอากาศได้แบบไม่มีปัญหา หรือบางทีถ้าถ่ายที่ Full HD ก็ถ่ายเป็น 60P ก็ได้ ซึ่งเราสามารถมาดึงเป็น Slowmotion ได้ เช่น ถ่ายที่ 120 เฟรมต่อวินาที แล้วมาเล่นที่ 30 เฟรมต่อวินาที ดังนั้น 1 วินาทีการถ่ายจะเท่ากับ 4 วินาทีที่เพลย์ ทำให้กลายเป็น Slowmotion 4 เท่า

บิตเรต (Bitrate)

บิตเรต คือ อัตราการเขียนข้อมูลใน 1 วินาที เพราะฉะนั้นถ้า bitrate สูง ไฟล์วิดีโอจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และคุณภาพจะสูงขึ้นด้วย จะคล้ายๆกับไฟล์ Jpeg คือจะมีการบีบอัดข้อมูลน้อยลง โดยปกติเราจะใช้บิตเรตที่สูงที่สุด ถ้าเป็น Fujifilm X-H1 เราจะใช้บิตเรตสูงสุดที่ 200 Mbps ซึ่งจะเปลืองพื้นที่ แต่ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอีกระดับนึงเลย

แต่ถ้าอยากได้คุณภาพสูงสุด คงต้องออกให้ออกตัวผ่านสาย HDMI เข้าตัว External Recorder ซึ่งทางกล้องกล้วยกล้วยจะมี External Recorder ของ Atomos

Slow Motion

ถ้าอยากถ่าย Slow Motion ต้องใช้เฟรมเรตที่สูงที่สุด โดยปกติที่ Full HD จะมีเฟรมเรตที่ 60 ภาพ แต่ถ้าเราเล่นที่ 30 ภาพ มันจะดึงเป็น slow motion 2 เท่า แต่ในกล้อง Fujifilm X-H1 จะมี Full HD Slow Motion 5 เท่า คือถ่ยาที่ 120P ถ้าใช้คุณภาพเรคคอร์ดขนาดนี้ สามารถทำ slow motion ได้

โหมดสี (Film Simulation)

โหมดสีเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดขายของกล้อง Fujifilm เลยทีเดียว และเป็นจุดที่ทำให้กล้องกล้วยๆเลือกใช้เลยทีเดียว เพราะการที่เราคุมโหมดสีได้ ทำให้เราไม่ต้องมาเกลี่ยสีอีกรอบ หรือเกลี่ยน้อยมาก

Provia / Standard

เป็นโหมดสีที่เอาไว้ถ่ายทั่วไป สีไม่จัดจ้านมาก

Velvia / Vivid

เป็นโหมดสีที่เหมาะกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือวัตถุที่ต้องการให้สีสันจัดจ้าน คอนทราสต์สูง

Astia / Soft

เป็นโหมดสีที่สีผิวจะนุ่มนวลแต่ไม่ถึงกับนุ่มมาก ไม่จัดจ้านเหมือน Velvia แต่ไม่จืดจนเกินไป

Classic Chrome

เป็นโหมดสีที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพบุคคล เนื่องจากสีผิวจะอมน้ำตาล แล้วคุมไฮไลท์ ชาโดว์เพิ่มเติมเข้าไป สีผิวคนจะออกมาสวยมาก นอกจากนั้นยังถ่ายแนว documentary หรือ สารคดีได้ดีอีกด้วย

Pro Neg. Hi

เป็นโหมดสีที่จะเน้นสีผิวนุ่มนวล สีสันจะไม่จัดจ้านมาก มีคอนทราสต์สูงกว่า Pro Neg. Std

Pro Neg. Std

เป็นโหมดสีที่เน้นสีผิวนุ่มนวล สีสันไม่จัดจ้านมาก แต่คอนทราสต์จะน้อยกว่า Pro Neg. Hi

Eterna

เป็นโหมดสีของฟิล์ม negative ภาพยนตร์ของฟูจิ จะให้สีที่อมน้ำตาลนิด สีผิวจะสวยมาก ให้รายละเอียดส่วนชาโดว์กว้าง เหมาะกับการถ่ายบุคคลเวลาที่มีแสงแดดจัดจ้าน แล้วใช้ร่วกับ dynamic range เราจะได้ช่วงแสงที่กว้างมากแบบตัว F-Log

Acros

เป็นโหมดสีขาวดำ จะให้โทนที่ดีกว่าการไปปรับขาวดำที่ตัวโปรแกรม

Monochrome + G Filter

เป็นโหมดสีขาวดำที่เหมือน Acros แต่คอนทราสต์จะสวยไม่เท่า Acros จะมีความจัดจ้านมากกว่า

Sepia

เป็นโหมดสีที่เป็นสีน้ำตาล สำหรับคนที่ถ่ายภาพยนตร์แล้วอยากได้โทนย้อนอดีตก็เหมาะมาก

โดยส่วนมากทางกล้องกล้วยกล้วยจะใช้โหมดสี Etrena เป็นหลักแล้วนำมาปรับคอนทราสต์ขึ้น หรือไม่ก็เป็นโหมดสี Classic Chrome ที่จะเน้นสีผิวคนสวยๆ ต้องการคอนทราสต์นิดนึง แต่ถ้าเน้นความสวยงามของวิวทิวทัศน์ก็จะไปที่โหมด Velvia เลย

Dynamic Range (Movie)

ฟังก์ชั่นที่สำคัญที่ใช้ร่วมกับโหมดสีก็คือ Dynamic Range, Hilight, Shadow, Color และ Sharpness ซึ่ง Dynamic Range จะเป็นตัวควบคุมความละเอียดส่วนสว่าง โดยปกติจะอยู่ที่ แต่ถ้าสมมติ Highlighht ขึ้นน้อยไป เราสามารถเปลี่ยน dynamic range ไปที่ 200 หรือ 400 ได้ แล้วถ้าฝช้ dynamic range ที่ 400 เราต้องดัน ISO ไปที่อย่างน้อยคือ ISO800 อย่างไรก็ตามการปรับตั้งในกล้องให้เรียบร้อยแล้วถ่ายออกมาให้จบ เราจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีกว่า

Highlight Tone (Movie)

จะเป็นการดึงรายละเอียดส่วนสว่างคล้ายกับ dynamic range แต่ว่า dynamic range จะไปเล่นกับ ISO ส่วน Hilight จะเล่นกับตัว contrast ของไฟล์ภาพและวิดีโอ เวลาปรับ Hilight สมมติว่าส่วนสว่างขึ้นน้อยไป ก็ต้องปรับ hilight เป็นลบ ก็จะดึงส่วนสว่างกลับขึ้นมาได้ระดับนึง และถ้า  hilight สว่างไม่มากพอ ก็ปรับ hilight ไปเป็นบวก

Shadow Tone (Movie)

จะเป็นการเล่นกับส่วนดำคล้ายๆ hilight ถ้าเราถ่ายวิดีโอแล้วส่วนดำไม่ดำ อยากให้ดำกว่านี้ก็ปรับ shadow ไปเป็นลบ แต่ถ้า shadow ดำไปเราก็จะปรับ shadow ไปเป็นลบ

Color (Movie)

จะเป็นการเล่นกับความอิ่มตัวของสี สามารถปรับสีให้จืดลงหรือสดขึ้นได้จาก film simulation ที่ปรับไปแล้ว ซึ่งจะได้ฟุตเทจแบบจบหลังกล้องได้สบาย ถ้าเราควบคุมจากหลังกล้องไม่ได้ เวลาเราเอาไปเกลี่ยสีในโประแกรม บางทีจะเอาไม่อยู่

Sharpness (Movie)

จะเป็นการเพิ่มความคมชัดในการถ่ายวิดีโอ แบบเวลารู้สึกว่าเวลถ่ายวิดีโออยากได้ความคมชัดที่เพิ่มขึ้น สามารถที่จะบวก sharpness ขึ้นไปได้ หรือถ้าอยากให้ความคมชัดลดลง ก็ลด sharpness ลงมา

Noise Reduction (Movie)

จะเอาไว้เวลาที่เราถ่ายวิดีโอที่ ISO สูงๆ จะมี noise โผล่มา ถ้าเราเปิดฟังก์ชั่นนี้เพิ่มขึ้น noise จะลดลง แต่ว่าภาพจะดูเป็นวุ้น ดูเป็นภาพสังเคราะห์หน่อยๆ และถ้าเกิดเราถ่ายภาพที่มี detail น้อยแบบพวกพื้นเรียบๆ เราสามารถใช้ noise reduction ตัวนี้เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อวิดีโอ

F-Log Recording

จะใช้เวลาที่เราต้องการถ่ายวิดีโอให้มี dynamic range สูงสุด ก็คือจุดที่เราถ่ายมี จุดมืดกับจุดสว่างที่ต่างกันมากๆ ถ้าเราใช้โหมดสีธรรมดา อาจจะเสีย hilight ไป เสีย shadow ไป พอเปิด F-Log มันจะเปิด dynamic range ทั้งหมด และภาพจะ low contrast มาก ซึ่งพอถ่ายเสร็จเราต้องมาเกลี่ยสีอีกที

Peripheral Light Correction

เป็นฟังก์ชั้นที่มีอยู่ใมนกล้อง Fujifilm X-H1 สำหรับเวลาใช้เลนส์มือหมุน หรือว่าเลนส์ movie แล้วมี vignette ขอบภาพมืด ก็เปิดตัวนี้ ซึ่งพอเปิดฟงัก์ชั่นนี้ จะแก้ vignette ให้ภาพสม่ำเสมอ    

แสดงความเห็นได้ที่นี่