การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การควบคุมใช้งานฟังก์ชั่นวิดีโอในตัวกล้อง #2

การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การควบคุมใช้งานฟังก์ชั่นวิดีโอในตัวกล้อง #2

เรามาเรียนรู้ฟังก์ชั่นของกล้อง Fujifilm ที่เหลือกันว่ามีอะไรและใช้ยังไงบ้าง ซึ่งถ้าเราเรียนรู้และเข้าใจ จะทำให้เราทำงานได้ง่าย และจบงานได้ไว

Movie AF Mode

กล้อง Fujifilm จะมีโหมดโฟกัสให้ใช้ก็คือ Movie AF Mode จะมีให้เลือกสองอัน คือ Multi กับ Area  โดยที่ตัว Multi จะใช้พื้นที่ทั้งหมดของช่องมองภาพใการหาโฟกัส เพราะฉะนั้นกล้องจะดูพื้นที่ที่ปรับโฟกัสให้อัตโนมัติ ซึ่งจะดูว่าควรโฟกัสตำแหน่งไหน และคำนวณความชัดให้ แต่ถ้าเกิดต้องควบคุมจุดความชัดเอง อย่างเช่นเรามีจุดสนใจที่อยู่คงที่ เราก็สามารถหาจุดสนใจได้โดยใช้ Area ซึ่งเราสามารถเลือกจุดที่เราจะปรับโฟกัสได้ ซึ่งถ้าเป็นรุ่นทัชสกรีน สามารถใช้วิธีการแตะที่หน้าจอได้เลย   

AF-C Custom Setting (Movie)

ถ้าเราใช้ระบบ AF-C สำหรับตัวกล้องอย่าง Fujifilm X-H1 เราสามารถเลือกความเรฌวในการโฟกัสตาม แล้วก็ความไวในการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ โดยเราจะมี Tracking Sensitivity ซึ่งจะมีอยู่ 5 ระดับ ตัว 0 ถ้ามีอะรไเข้าจุดโฟกัส คือจะยังไม่โฟกัสตามแต่จะรออีกซักพัก เช่นคนเดินแล้วมีต้นไม้ตัดหน้า พอเราโฟกัสคน ต้อง Log On เอาไว้ คือถ้ามีอะไรตัดหน้า มันจะไม่ไปตัดหน้า ทำให้โฟกัสไม่เลื่อนไปมา ต่อมาคือ AF Speed จะเป็นความเร็วในการหมุนโฟกัส ซึ่งเราสามารถตั้งได้ คือ Slow -5 จนถึง Fast +5

Pre-AF (Movie)

จะเปิดใช้เวลาที่สมมติว่าเรายังไม่ได้แตะให้กล้องโฟกัส แต่ว่าเราจะให้กล้องโฟกัสตามตลอดเวลา โดยทำงานเองแม้ว่าเราไม่กดชัตเตอร์ เราจะเอาไว้ใช้ในกรณีที่แบบเราโฟกัสช้า หรือต้องการเตรียมโฟกัสไว้ก่อน เหมาะกับการถ่ายวิดีโอที่ต้องการความรวดเร็ว

MF ASSISt (Movie)

เวลาที่เราใช้ manual focus เราต้องขยายภาพขึ้นมาหรือใช้ตัวช่วย เพราะว่าช่องมองภาพเล็กนิดเดียว เราก็จะใช้ฟังก์ชั่น MF Assist ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้เป็น standard หรือเป็น peak โดยที่เวลาที่เป็น standard ก็คือพอเรากดปุ่มด้านหลัง ภาพจะขยาย แล้วเราก็ทำการโฟกัส กดปุ่มอีกครั้งภาพก็จะย่อ หรือจะเลือกเป็น peak focus ก็จะขึ้นเป็นเส้น มีให้เลือกเป็นสีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว ถ้าชัดตรงไหนจะขึ้นเส้นที่ตรงนั้น ส่วนใหญ่ในงานวิดีโอเค้าจะใช้ manual focus ก็จะเลือกเป็น peak focus กัน

เวลาที่เราใช้ manual focus อยู่โดยตั้งกล้องนิ่งๆ บางทีวัตถุมีการเคลื่อนด้านหน้า ถอยหลังนิดหน่อย ก็จะทำให้วัตถุหลุดโฟกัสไป เราสามารถที่จะเช็คโฟกัสได้โดยการเปิดฟังก์ชั่น Focus Check ขึ้นมา จากนั้นกดปุ่มด้านหลัง ภาพจะขยาย เราสามารถเช็คโฟกัสในขณะที่เราถ่ายวิดีโอได้เลย

Face Detection Setting (Movie)

เวลาที่เราถ่ายวิดีโอหรือภาพยนตร์ ถ่ายบุคคล เราสามารถโฟกัสตามใบหน้าได้ โดยเปิดโหมด face detedtion แล้วก็ถ่าย กล้องก็จะจับโฟกัสที่ใบหน้า เวลาเคลื่อนไปซ้าย ไปขวา ไปหน้า ถอยหลัง กล้องก็จะโฟกัสตามให้ตลอด ซึ่งเป็นข้อดีของกล้องรุ่นใหม่

HDMI Output Info Display

ใช้ในกรณีที่เราอยากจะ record การทำงานของหน้าจอ แทนการทำงานของกล้อง ในงานวิดีโอทั่วไปเราไม่ได้ใช้ แต่งาน presentation ได้ใช้แน่ๆ

4K Movie Output

ในกล้องรุ่นใหม่ๆ สามารถที่จะ record วิดีโอลงการ์ดได้และปล่อยสัญญาณออก HDMI ซึ่งสามารถตั้งได้ว่าสัญญาณที่จะให้ออก HDMI เป็น 4K หรือเป็น Full HD ได้

4K HDMI Standby Quality

ใช้สำหรับเวลาเอา output video โดยที่เรายังไม่ได้ record คือเราจะ output ก่อน record อยากให้เป็น 4K หรือ Full HD ก็สามารถเลือกได้

HDMI Rec Control

ใช้ในกรณีที่เราถ่ายงานออก atomos แล้วกด record ที่ตัวกล้อง ไม่ต้องไปกดที่ตัว atomos หรือ external recorder

Audio Setting

ในส่วน Audio ของกล้อง Fujifilm X-H1 สามารถควบคุมระบบเสียงได้ทั้งไมค์และเครื่องเสียงภายนอกที่เข้ามา โดยที่เราสามารถที่จะปรับตั้งความไวของไมค์เป็น dB วิธีปรับตั้งง่ายๆ คือมาที่ manual แล้วดูสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้น โดยอย่าให้เสียงพีคจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถที่จะตัดเสียงลม เสียงรบกวนที่เป็นความถี่ต่ำออกไปได้ และควบคุมการฟัง headphone ได้

Time Code Setting

มีไว้ใช้สำหรับงานอาชีพ คือมันจะให้กล้องทุกกล้องตั้งเวลาเท่ากันว่าเวลาถ่ายแต่ละกล้องถ่ายเวลาไหน มันก็จะใส่ timecode เอาไว้ เวลาที่เราไปซิ้งค์กับโปรแกรม ก็จะจัดเรียงไฟล์ให้อัตโนมัติ

Tally Light

สามารถเปิดไฟด้านหน้าเวลาถ่ายวิดีโอ ช่วยให้คนอยู่หน้ากล้องรู้ว่ากล้องไหนกำลังทำงานอยู่ สามารถเปิดได้ว่าจะให้เป็นไฟหน้า ไฟหลัง หรือเปิดพร้อมกันทั้งคู่ ปิดพร้อมกัน ก็ทำได้

Movie Silent Control

สามารถที่จะปรับทุกอย่างได้จากทางหน้าจอทัชสกรีน โดยที่เราจะไม่ควบคุมที่ตัวปุ่ม เพราะปุ่มพวกนี้จะถูกตัดการทำงาน สามารถปรับค่าต่างๆได้เลยจากหน้าจอทัชสกรีนทั้งหมด

นอกจากฟังก์ชั่นต่างๆของกล้องแล้ว ยังมีสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การควบคุมปริมาณแสง ซึ่งจะควบคุมผ่านความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง ความไวแสง และ variable ND Filter มาดูว่าแต่ละตัวจะควบคุมกันอย่างไร…

การควบคุมความเร็วชัตเตอร์ในงานวิดีโอ

ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายวิดีโอ จะไม่สามารถทำได้อย่างอิสระแบบภาพนิ่ง จะมีหลักอยู่ว่าปกติ เราจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 2 เท่าของเฟรมเรต สมมติว่าเฟรมเรตอยู่ที่ 30 เฟรมต่อวินาที ก็จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาที จะทำให้วิดีโอออกมาดูสมูท ดูเป็นธรรมชาติ แต่ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงกว่าเฟรมเรต ถ้าสูงไปมาก ภาพวิดีโอจะดูออกมากระตุกเป็นขั้นๆ และถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์จ่ำมากๆ เช่น ¼ วินาที ในการถ่ายที่ 30 เฟรมต่อวินาที ภาพที่ได้จะดูลากยาว เบลอค่อนข้างมาก การเคลื่อนที่จะดูกระตุก ไม่ธรรมชาติ

การควบคุมแสงในงานวิดีโอ

ในการถ่ายวิดีโอ เราจะควบคุมแสง โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ซึ่งจะขึ้นกับเฟรมเรต ขนาดช่องรับแสงขึ้นกับความชัดลึกที่เราต้องการ ก็จะใช้ช่องรับแสงกว้างๆเพื่อให้ภาพดูมีมิติแบบฉากหลังไม่รกมาก ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบ อีกเรื่องคือเรื่องของความไวแสง ซึ่งเวลาเราใช้ความไวแสงสูงๆ จะมี noise มากวน ส่วนใหญ่เวลาทำงานแล้วมีปัญหาคือ เวลาเราถ่ายกลางแจ้งแล้วแสงเยอะไป พอเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/50 F/1.4 ISO200 แบบนี้ในที่กลางแจ้ง ซึงแสงเยอะมาก เราก็ต้องมีฟิลเตอร์คือ Variable ND Filter ช่วยในการตัดแสง เราก็ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการ ช่องรับแสงที่ต้องการ ความไวแสงที่ต้องการ แล้วก็ทำการหมุน Variable ND Filter ไปเพื่อควบคุมแสงให้ได้ปริมาณที่เราต้องการ โดยที่เวลาควบคุมแสงแนะนำให้ดูจาก Histogram                  

แสดงความเห็นได้ที่นี่