การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การใช้งานถ่ายวิดีโอจริงในภาคสนาม

การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm ตอน การใช้งานถ่ายวิดีโอจริงในภาคสนาม

เมื่อได้เรียนรู้ในเรื่องของอุปกรณ์และฟังก์ชั่นต่างๆในการถ่ายวิดีโอกันแล้ว มาเรียนรู้การใช้งานถ่ายวิดีโอจริงในภาคสนามกัน โดยจะถ่ายแนวเป็นโฆษณารีสอร์ทแบบง่ายๆ โดยไม่ใช้ gimbal เนื่องจาก Fujifilm X-H1 มีกันสั่นในตัวอยู่แล้ว

โดยในวิดีโอใช้เลนส์ Fujinon XF 16mm F1.4R WR, Fujinon XF 14mm F2.8R, Fujinon XF 23mm F1.4R, Fujinon XF 35mm F2 R WR, Fujinon XF 56mm F1.2 R ซึ่งเป็นเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายทั้งหมด

สถานการณ์ #1

รีสอร์ทที่ถ่ายวิดีโอกัน มีความเป็นธรรมชาติ จะมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ แต่ที่สะดุดตาจริงๆ คือ หอยทากซึ่งกำลังคลานขึ้นมาและบรรยากาศก็ชื้นๆ คราวนี้เลยอยากถ่ายหอยทากเดิน โดยจะถ่ายแบบมุมต่ำ ซึ่งเราสามารถพลิกจอได้ อันนี้จะเป็นข้อดีของกล้อง Fujifilm X-H1, Fujifilm X-T2 ที่สามารถพลิกจอได้ และจะเปิดระบบลดการสั่นไหวของกล้อง ซึ่งในซีนนี้จะใช้โหมดสี Velvia บวกคอนทราสต์ขึ้นไปนิดนึง สามารถดูค่าที่หน้าจอได้เลย…

หอยทากจะมีอยู่สองอิริยาบถ คืออยู่นิ่งๆ โดยจะปรับ tracking sensitivity เอาไว้ต่ำ และ AF Speed ก็จะปรับให้ต่ำเหมือนกัน เพราะต้องการให้วิดีโอสมูท แล้วก็ปรับโฟกัสเป็น Area โดยที่เลือกไว้ตรงที่ตัวหอยทาก ถ้าหอยทากมีการเคลื่อน จะเคลื่อนจากตัว shifter ซึ่งสามารถ shift ที่ปุ่มด้านหลีงได้เลย

แต่ถ้าหอยทากมีการเคลื่อน เราจะเปลี่ยนโหมด Tracking Sensitivity ให้เร็วขึ้น และ AF Speed ให้เร็วขึ้น จุดที่เราต้องทำการเข้าใจคือตัว Tracking Sensitivity และ AF Speed

สถานการณ์ #2

ในซีนนี้ อยากจะได้หยดน้ำจากปลายหลังคาจาก โดยจะถ่ายให้เห็นหยดน้ำแล้วไล่ไปหยดที่สอง หยดที่สาม ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงฉากหลังเป็นลักษณะของการแพนกล้อง โดยใช้ระบบ AF-C และระบบโฟกัสเป็น Area อยู่ตรงกลางแล้วแพนกล้องไป โดยจะตั้ง Tracking Sensitivity ให้เร็วขึ้นนิดนึง และ AF Speed ให้อยู่ปานกลางค่อนไปทางช้านิดนึง เพื่อไม่ให้เคลื่อนเร็วเกินไป แล้วค่อยๆแพน วิดีโอที่ได้จะสมูทมาก และโหมดสีที่ใช้เป็น Velvia ซีนนี้นี้เวลาถ่ายจริงอาจต้องลองถ่ายหลายเทคหน่อย เพราะว่าช่วงแรกเราจะไม่รู้การทำงานของกล้องดี พอเริ่มชำนาญก็จะรู้ว่าเราต้องตั้งยังไง

สถานการณ์ #3

ซีนนี้จะเห็นหยดน้ำบนปลายยอดสน คราวนี้จะถ่ายหยดน้ำบนปลายยอดสน โดยใช้อัตราขยายค่อนข้างสูง โดยใช้ 80mm F2.8 Macro และเปิดกันสั่น โหมดสีจะใช้เป็น Velvia โดยเร่งคอนทราสต์ขึ้นไปด้วยการบวกไฮไลท์ บวกชาโดว์ ซึ่งเวลาถ่ายใบไม้จะมีการเคลื่อน ก็จะใช้ AF-C แต่เปิดตัว Tracking Sensitivity และ AF Speed ไว้เร็ว เพื่อให้สามารถตามทันการเคลื่อนของตัวใบไม้

สถานการณ์ #4

ซีนนี้เป็นซีนที่ยากนิดนึง เพราะว่าจะถ่ายโดยการแพนกล้องจากด้านบนลงมาเรื่อยๆ และออกไปข้างนอก ให้เห็นแบบบรรยากาศด้านในจากที่มืดออกไปที่สว่าง ซึ่งจะควบคุมแสงได้ยาก ดังนั้นตอนถ่ายจะถ่ายเป็นสองอัน คือ ถ่ายเป็น Velvia แล้วไปลบชาโดว์ ลบไฮไลท์เอาไว้ เวลาวัดแสงจะให้ส่วนสว่างพอดี ส่วนมืดจะดึงด้วยฟังก์ชั่นของกล้อง กับอีกซีนนึงจะถ่ายเป็น F-Log ทีนี้สองอันนี้ ถ้าถ่ายแบบตั้งโหมดสีแล้วเอาอยู่ อยากให้ใช้โหมดสี เพราะว่าจะได้ไม่ต้องมาเกลี่ยสีทีหลัง

ทีนี้โดยปกติตอนแพน เค้าจะใช้ดอลลี่ หรือว่ากิมบอลซึ่งจะนิ่ง แต่ว่าอันนี้จะเปิดกันสั่น แล้วก็ใช้เลนส์ Ultra Wide เวลาแพนเราจะต้องเปิดระดับน้ำในตัวกล้องด้วย

สถานการณ์ #5

ซีนนึงที่เราถ่ายกันบ่อยมาก นั่นก็คือซีนของการแพนกล้อง อย่างตอนนี้จะอยู่ด้านหน้าของรีสอร์ทที่เป็นสระน้ำ แล้วก็จะเห็นบรรยากาศทั้งหมด เราก็จะถ่ายแพนกล้องเพื่อให้เห็นทัศนียภาพทั้งหมด คราวนี้เวลาแพน เราจะเปิดเส้นระดับน้ำ ซึ่งการแพนถ้าให้ดีต้องใช้ gimbal แพน เพราะความเร็วในการแพนจะคงที่ แต่ถ้าเราไม่สามารถที่จะใช้ gimbal ได้ แล้วต้องแพนเองก็ให้ทำการเคลื่อนช้าๆ แล้วก็ดูเส้นระดับน้ำไว้ให้ตรง

สถานการณ์ #6

ถ้าสมมติว่ากล้องของเราไม่มี F-Log หรือว่าไม่สามารถออก external recorder ได้ จริงๆก็ยังสามารถถ่ายให้ใกล้เคียง F-Log ได้ โดยที่แนะนำให้ใช้โหมดสี NS (Pro Neg. Std) เพราะว่า NS จะเป็นตัวที่คอนทราสต์ต่ำที่สุด หลังจากนั้นให้ลบไฮไลท์มาที่ -2 แล้วก็ลบชาโดว์มาที่ -2 หลังจากนั้นก็ตั้ง Dynamic Range มาที่ 400% แต่ถ้าใช้ Eterna ส่วนดำจะขึ้นมาอีกหน่อยนึประมาณ Stop กว่าๆได้

สถานการณ์ #7

ที่รีสอร์ทจะมีชิงช้าอยู่ริมน้ำ ทีนี้อยากถ่ายให้เห็นบรรยากาศแบบเห็นรากไม้ ใบไม้ที่ตกลงมา แล้วเห็นชิงช้าและไปที่สะพานแขวน โดยจะใช้วิธีการแพนกล้องขึ้นไป เวลาแพนกล้อง ก็จะให้โฟกัสเลื่อนตามไปด้วย โดยตั้ง Tracking Sensitivity ไว้ค่อนข้างไว แล้วก็ปรับ AF Speed ปานกลาง เพื่อให้เคลื่อนที่ไม่ถึงกับเร็วมาก โหมดสีที่ใช้จะเป็น Velvia เพราะต้องการความสดจัดจ้านของบรรยากาศ และเพิ่มคอนทราสต์ขึ้นไปหน่อยนึง

สถานการณ์ #8

ซีนนี้อยากได้ช็อตที่เป็น Slow Motion ซึ่งที่นี่มีหลายจุดที่สามารถเล่น Slow Motion ได้ ตั้งแต่สายน้ำลำธารไหลมา เดี๋ยวจะให้แบบไปอยู่ตรงชิงช้าแล้วทำการกวักน้ำ แต่คราวนี้ช็อตสายน้ำ อยากถ่ายให้สายน้ำไหลมา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ ต้องโฟกัสตาม อีกอย่างนึงคือต้องไปตั้ง Slow Motion โดยจะใช้ที่ 120 เฟรมต่อวินาที ส่วนช่องรับแสงจะตั้งให้กว้างหน่อย ไม่จำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์ลดแสง โหมดสีใช้ Velvia ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องโฟกัสตามไม่ทัน ก็ให้ไปดูในเรื่องของ AF Speed ว่าความเร็วของการหมุนช้าไปหรือเปล่า แต่ถ้ายังไม่จับอีก อาจจะเป็นที่ Tracking Sensivity ที่ตั้งช้าไป โดยที่ Tracking Snesitivity ถ้าแสงน้อยมากๆ จะ track ตามไม่ไหว ก็ให้ใช้ ND Filter

ซีนถ่ายแบบอยู่ในน้ำ จะถ่ายเป็น Slow Motion ให้เห็นลำธาร และแบบเล่นน้ำอยู่ ก็จะปรับไปที่ Slow Motion แต่ในซีนนี้จะยุ่งนิดนึง คือต้องการให้แบบชัด แล้วก็ตอนที่กวักน้ำ ก็ให้มันโฟกัสตามน้ำมา ทำได้โดยการใช้ Tracking Sensitivity ไวสุด และ AF Speed ไวสุด ใช้โฟกัสที่ Wide Area ด้วย

ซีนนี้จะมีต้นไม้ซึ่งสวยมากเพราะฝนตก แล้วดอกของต้นนี้จะร่วงลงมา ก็จะให้แบบไปยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นร่องที่แสงลงพอดี แล้วรอจังหวะที่ใบไม้และดอกไม้ร่วงลงมา

สถานการณ์ #9

เวลาถ่ายวิดีโอพวกวิวทิวทัศน์จะต้องคุมในเรื่องของสี แสง แต่ซีนที่ยกก็คือ ซีนเดินตาม ถ้าเป็นสมัยก่อนก็โฟกัสกันยากและเหนื่อยมาก แต่ด้วยปัจจุบันกล้องเป็นออโต่โฟกัส ซึ่งจะมีหลุดแค่เพียงบางครั้งเท่านั้น โดยในซีนนี้จะให้เห็นอารมณ์แบบนักท่องเที่ยวอยู่ในเต้นท์ แล้วออกมาเดินเที่ยว โดยเริ่มจากให้อยู่ในเต้นท์ซึ่งแสงไม่ค่อยมี แล้วโผล่ออกมาหาส่วนสว่าง หลังจากนั้นก็จะถ่ายแบบเดินตามเลย ในกรณีนี้ตัวแสงในเต้นท์จะมืดมาก ถ้าเราปรับแสงให้พอดี พอแบบออกมาจากเต้นท์ก็จะสว่างเลย ซึ่งไม่ได้ เพราะต้องให้แสงทั้งที่มืดและที่สว่างพอดีทั้งคู่ ก็จะปรับเป็น Auto ISO และเปิดโหมด face detection                            

แสดงความเห็นได้ที่นี่