การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm #5 ตอน ตัวอย่างงานในงานภาคสนาม (1)

การถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง Fujifilm #5 ตอน ตัวอย่างงานในงานภาคสนาม (1)

Scene #1

วิดีโอนี้จะเป็นวิดีโอถ่ายมาโครดอกไม้ ใช้เลนส์มาโคร 80mm โดยคุมช่องรับแสงใหเอยู่ปานกลาง ไม่ถึงกับกว้างมาก เพราะต้องการให้ความชัดลึกครอบคลุมทั้งตัวดอกไม้ แต่ตอนถ่ายแสงค่อนข้างแรงจึงใช้ ND Filter ด้วยเพื่อลดแสง โหมดสีใช้เป็น F-Log กับ Eterna ส่วน white balance ตั้งอยู่ประมาณ 5300K ระบบโฟกัสใช้เป็น AF-C และปรับ Tracking Sensitivity ให้ค่อนข้างเร็ว เพราะดอกไม้มีการสั่นไหวตลอดเวลา

Scene #2

ซีนนี้เป็นซีนที่พระอาทิตย์กำลังจะตกที่ยอดดอยหลวงเชียงดาว ซีนนี้มีความแตกต่างของแสงค่อนข้างสูงมาก คือสว่นด้านหน้าต่อนข้างดำ และด้านหลังสว่างจ้า ดังนั้นจึงมาใช้โหมด F-Log จากนั้นวิดีโอนี้จะใช้เทคนิคการแพน เวลาแพนให้ทำการมาร์คจุดที่เราต้องการจากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย

Scene #3

ซีนนี้เป็นซีนที่เห็นคนกำลังยืนถ่ายรูปดอยหลวงเชียงดาวอยู่ เลนส์ที่ใช้จึงมีความสำคัญมาก ถ้าเราใช้เลนส์มุมกว้าง มันจะเก็บท้องฟ้า จะทำให้เวลาเราคุมแสงที่ตัวคนได้ ท้องฟ้าจะสว่างจ้า สิ่งที่เราต้องทำบ่อยๆ ก็คือเปลี่ยนมาใช้เลนส์ที่ F แคบลง โดยซีนนี้จะใช้เลนส์ 56m F1.2 เพื่อเจาะและตัดท้องฟ้าออก และถ่ายเป็น F-Log เพื่อเก็บแสงทั้งด้านหน้าและด้านหลังได้หมด

Scene #4

ซีนนี้จะเป็นซีนพระอาทิตย์ตกที่ดอยหลวงเชียงดาว ต้องเก็บรายละเอียดทั้งด้านหน้าตลอดจนถึงด้านหลังให้ครบทั้งหมด ดังนั้นซีนนี้จึงถ่ายเป็น F-Log แล้วก็มีการแพนให้เห็นดอยหลวงเชียงดาวแล้วมาที่ตัวคน ระบบโฟกัสตั้งเป็น AF-C ตั้ง Tracking Sensitivity อย่าให้เร็วมาก และตั้ง AF Speed ให้ช้านิดนึง

Scene #5

ซีนนี้เป็นซีนถ้ำที่ไปถ่ายที่ถ้ำใหญ่น้ำหนาว ซึ่งแสงในถ้ำจะค่อนข้างน้อยมาก ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความไวแสงที่ค่อนข้างสูง จะอยู่ที่ประมาณ ISO 6400 และถ่ายเป็น F-Log ซึ่งซีนนี้วิดีโอที่ออกมาจะเทาๆ จึงเปิดไฟฉายเพื่อให้เกิดจุดสว่างเป็นจุดสนใจขึ้นมา แต่ก็ต้องปรับแสงที่ไฟฉายให้พอดีด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่ใช้กล้องฟูจิสามารถที่จะถ่ายดาวตอนกลางคืนได้แล้วกับตัว Fujifilm X-H1

Scene #6

ซีนนี้เป็นซีนที่ถ่ายห่านในน้ำ โดยจะใช้ระบบ Tracking Sensitivity โดยใช้เลนส์ 90mm F2 ซึ่งเลนส์ตัวนี้โฟกัสไวมาก ใช้โหมดสี Velvia และบวก Color เข้าไปด้วย เพราะตอนที่ถ่ายฝนกำลังตก บรรยากาศจะครึ้มๆ เลยต้องการสีสันจัดจ้าน ตั้ง Tracking Sensitiity ไว้ค่อนข้างเร็ว AF Speed ก็ตั้งเร็วด้วย เพราะว่ามีการเคลื่อนที่ ใช้โหมดโฟกัสเป็นพื้นที่ เพื่อที่จะสามารถคุมโฟกัสที่ตัวห่านได้ตลอดเวลา

Scene #7

ซีนนี้จะเป็นซีนที่เราเล่น Slow Motion ซึ่งเวลาที่เราถ่ายวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว เราจะถ่ายไว้สองแบบ คือแบบปกติ กับ Slow motion ทีนี้เวลาถ่าย Slow motion ความละเอียดจะเป็นแค่ FUll HD ซึ่งซีนนี้เป็นซีนที่ดอกทานตะวันไหวไปมา เลยถ่ายเป็น Slow motion แล้วตั้ง Tracking Sensitivity กับ AF Speed ไว้ค่อนข้างเร็ว เพราะดอกทานตะวันมีการโยก ในซีนนี้ใช้เลนส์ 23mm F1.4

Scene #8

ซีนที่ถ่ายมาพร้อมๆกับซีนดอกทานตะวัน คือซีนที่มีคนกำลังถ่ายดอกทานตะวัน โดยมีถ่ายไว้สองแบบคือแบบปกติ กับแบบ Slow motion โดยซีนนี้ใช้เลนส์ 56mm F1.2 ในการถ่ายวิดีโอ

Scene #9

ซีนนี้เป็นซีนที่ถ่ายรูปอยู่ที่จุดชมวิวน้ำหนาว ตอนถ่ายแสงไม่แตกต่างกันมาก แต่เราก็ใช้ตัว F-Log ในการคุมสีของภาพ เก็บรายละเอียดตั้งแต่ส่วนสว่างที่สุดไปจนถึงมืดที่สุด ซึ่งส่วนมืดสุดยังเห็นรายละเอียดสบายๆเลย ตอนถ่ายใช้เลนส์ 56mm F1.2 ตัวโฟกัสจะล็อคไว้ที่ตัวคน เพื่อป้องกันเวลาแพน โฟกัสจะไม่หลุดไปที่ด้านหลัง

Scene #10

ซีนนี้เป็นซีนที่แต่ก่อนแทบจะทำไม่ได้เลยโดยใช้กล้องฟูจิฟิล์ม แต่ปัจจุบันทำได้เรียบร้อยคือการถ่ายวิวด้วยแสงจันทร์ โดยใช้ ISO 12800 c]tg]olN 56mm F1.2 เปิิดช่องรับแสงกว้างสุด ตอนถ่ายใช้เป็น F-Log ด้านหลังจะเห็นรายละเอียดทั้งหมดเพราะได้แสงจันทร์เข้ามาช่วย ซึ่งจะมี noise ค่อนข้างเยอะ เพราะ ISO สูง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของซีนกลางคืน

Scene #11

ซีนนี้เป็นซีนพระอาทิตย์ที่ดอยหลวงเชียงดาวคืนที่สองที่อยู่ เป็นซีนที่ถ่ายวิดีโอหลังจากถ่ายภาพนิ่งเสร็จ โหมดสีจะอยู่ที่ Velvia แล้วก็ปรับไฮไลท์ ชาโดว์เพื่อดึงรายละเอียด อุณหภูมิสีจะปรับขึ้นไปสูงนิดนึงเพื่อให้สีดูออกเหลือง

Scene #12

ซีนนี้ก็เป็นอีกซีนนึงที่ถ่ายต่อจากภาพนิ่ง โหมดสีจะอยู่ที่ Velvia แล้วก็โฟกัสเป็น Manual Focus ส่วนอุณหภูมิสีจะปรับให้สูงนิดนึงเพื่อให้วิดีโอที่ได้ดูอุ่นๆ โดยซีนนี้เราจะแพนบนหัวบอล ซึ่งจะฝืดนิดนึง เพราะว่าหัวบอลไม่ได้เป็นหัววิดีโอ ดังนั้นเวลาแพนต้องแพนหลายๆที   

แสดงความเห็นได้ที่นี่