การใช้งาน Filter ND by พี่โก๊ะ กล้องกล้วยกล้วย
พี่โก๊ะจะมาเผยเทคนิคในการใช้งาน Filterทั้ง Filter ND, PL และ graduated จะใช้ Filter ถ่ายรูปให้สวย ต้องทำอย่างไรบ้าง Filter มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร สถานการณ์ไหนควรใช้ Filter แบบไหน ไปชมกันเลยครับ
ตอนนี้เรามาเรียนรู้วิธีการใช้ Filter Nisi กันว่าเราจะ Filter Nisi ถ่ายรูปให้สวยเนี่ยมันมีตั้งหลายแบบ และมันใช้อย่างไรบ้าง อันนี้เป็นความรู้ล้วนๆเลย ติดตามกันครับ
ตอนนี้ผมอยู่ที่ศาลาดุสิตา ที่ทุ่งแสลงหลวง จุดนี้เป็นจุดที่ถ่ายรูปพระอาทิตย์ขึ้นได้สวยมากและวันที่ฝนตกจะเป็นทะเลหมอกด้านล่าง ด้านบนพระอาทิตย์ขึ้นจะสวยมาก แต่ที่นี้ถ่ายยากเพราะแสงด้านล่างกับด้านบนต่างกันมาก ถ้าอยากให้สวยมันต้องดึงด้านบนให้เห็นซึ่งส่วนใหญ่คนที่มาก็มักจะใช้ Filter ครึ่งซึกด้วย ผมเคยลองใช้งาน Filter Nisi ไปแล้วนะครับ ตอนนี้เรามาเรียนรู้วิธีการใช้ Filter Nisi กันว่าเราจะ Filter Nisi ถ่ายรูปให้สวยเนี่ยมันมีตั้งหลายแบบ และมันใช้อย่างไรบ้าง อันนี้เป็นความรู้ล้วนๆเลย ติดตามกันครับ
Filter ที่ใช้มีอะไรบ้าง? อย่างแรก Filter PL ซึ่งมากับตัว Holder อยู่แล้ว ตัว PL เนี่ยใช้ตัดแสงสะท้อนของวัตถุที่เป็นอโลหะ เช่น ใบไม้ เมฆ น้ำ เป็นต้น ใส่เข้าไปแล้วหมุนที่ตัวกรอบ แล้วหาจุดตัดที่ดีที่สุด
Filter พื้นฐานที่ควรมีก็คือ Filter ND ซึ่งจะมีหลักๆอยู่ 2 ตัวที่ผมใช้ก็คือ ND 1000 (10 Stop) และ ND 32 (5 Stop) ไม่มีกฏเกณฑ์ว่าตอนไหนเราใช้อะไร แต่ต้องดูว่าเราอยากได้ความเร็ว Shutter ขนาดไหน และตัวไหนลดแสงได้ตามความเร็วที่เราต้องการ ส่วนใหญ่ถ่ายกลางวัน แล้วลาก Shutter นานๆ ภายใต้แสงเยอะๆก็ใช้ ND1000 ส่วน ND 32 / 64 จะเหมาะกับความเร็ว Shutter ที่ไม่มาก ภายใต้แสงที่ไม่เยอะมาก อย่างถ่ายน้ำตกตอนกลางวันอยากลากให้น้ำพริ้ว ใช้ ND 32 / 64 กำลังสวย นี้เป็นหลักการ แต่ส่วนใหญ่น้ำตกใช้ ND 32 ส่วนถ้าลากเมฆ หรือถ่ายทะเลให้พริ้ว ใช้ ND 1000 หลักการง่ายๆเท่านี้เอง
Filter พื้นฐานที่ควรมีก็คือ Filter ND ซึ่งจะมีหลักๆอยู่ 2 ตัวที่ผมใช้ก็คือ ND 1000 (10 Stop) และ ND 32 (5 Stop) ไม่มีกฏเกณฑ์ว่าตอนไหนเราใช้อะไร แต่ส่วนใหญ่น้ำตกใช้ ND 32 ส่วนถ้าลากเมฆ หรือถ่ายทะเลให้พริ้ว ใช้ ND 1000 หลักการง่ายๆเท่านี้เอง
อีกอันที่ควรจะมีก็คือ Filter ครึ่งซีก ก็จะมีให้เลือกเยอะมาก อย่าง Hard, Medium, Soft ถ้าถามว่าควรใช้ตัวไหน? ถ่ายทะเลเป็นเส้นตรง มักจะใช้ตัว Hard แต่ถ้าเป็นหยัก เป็นแนวเขา มักจะใช้ตัว Soft หรือ Medium ในการไล่โทนเพราะมันจะเนี่ยนกว่า
อีกอันที่ควรจะมีก็คือ Filter ครึ่งซีก ลักษณะของมันก็คือข้างล่างจะใส ข้างบนจะทึบแบบนี้ และจะมีการไล่ระดับโทนอยู่ตรงกลาง ซึ่ง Filter ก็จะมีให้เลือกเยอะมาก อย่าง Hard, Medium, Soft จะมีความแตกต่างกันที่การไล่ Fade ตรงกลาง ถ้าถามว่าควรใช้ตัวไหน? ต้องดูว่าจุดตัดตรงที่เราจะไล่โทนเนี่ยมันเป็ฯเล่นตรงขนาดไหน ถ้าอย่างถ่ายทะเลเป็นเส้นตรง มักจะใช้ตัว Hard แต่ถ้าเป็นหยัก เป็นแนวเขา มักจะใช้ตัว Soft หรือ Medium ในการไล่โทนเพราะมันจะเนี่ยนกว่า
เวลาใช้งานจริงๆเราต้องภาพจากกล้อง และลองใส่ Filter เข้าไป เพราะอย่าง Hard ถ้าคุณใช้กับ Ultra Wide Angle คุณจะเห็นมันเป็น Hard แต่ถ้าใช้กับ Normal lens หรือ Tele เนี่ยมันจะกลายเป็ฯ Soft ไปเพราะมุมการรับภาพของเลนส์พวกนั้นมันแคบ มันเจาะเฉพาะตรงกลางของ Filter การไล่ระดับโทนจะเห็นน้อยลง จะ Hard, Medium, Soft ขึ้นกับภาพที่เราถ่ายและขึ้นกับเลนส์ที่เราใช้ด้วย ไม่มีข้อจำกัดว่าเลนส์แบบไหนใช้อะไร หรือภาพแบบไหนใช้อะไร ต้องดู Effect ที่กล้องเป็นสำคัญ
แล้วจะใช้ตัวไหนดี? ผมให้ข้อคิดแบบนี้ถ้าใช้เลนส์ Ultra Wide Angle คุณควรมีตัว Medium ถ้าจะซื้ออีกตัวนีง แนะนำเป็นตัว Hard ถ้าถ่ายรูปทะเล Hard ใช้เยอะ ถ้าถ่ายภูเขา แนวเขา ตัว Medium กะตัว Soft ใช้เยอะ ถ้าถ่าย SkyScape จะใช้ Soft เยอะ
เราจะเลือกความเข้มของ ND เบอร์อะไรดี? เบอร์ที่ใช้บ่อยๆ จากประสบการณ์ที่ถ่ายรูปมาคือเบอร์ 2 กับ 3 เบอร์ 2 จะลดท้องฟ้าไม่ให้สว่างมากนักจะ Balance กับด้านล่างได้ค่อนข้างดี ดูเป็นธรรมชาติ ถ้าเบอร์ 3 ท้องฟ้าจะมึดลงอีกหน่อยนึง รายละเอียดที่พื้นจะค่อนข้างเยอะ 3 Stop เป็นเบอร์สุดท้ายที่ให้ภาพดูเป็นธรรมชาติ ถ้าชอบภาพแบบไล่เป็นธรรมชาติก็ 2 Stop ถ้าต่องการรายละเอียดที่พื้นมากหน่อยก็ 3 Stop น้อยกว่านี้ใช้น้อยมาก ถ้ามากกว่านี้ก็เริ่มหลอนและ
Filter ที่เหมาะกับคนที่ชอบถ่ายพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เรียกว่า Reverse Graduated ND จะมีความแตกต่างกับ Graduated ND ตรงที่ว่าตรงกลางมันจะเข้มแล้วไล่ขึ้นบนไปอ่อน ที่เข้มตรงกลางจะเอาไว้ลดแสงอาทิตย์ เวลาปรับจะให้ส่วนที่เข้มที่สุดไปอยู่ที่ตรงดวงอาทิตย์ ทำให้ถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ได้ภาพที่สวย
การติดตั้ง
ตัว Holder จะมี 3 ส่วนคือตัว Holder เองและตัว Adapter Ring จะเป็นขนาด 82mm แต่ถ้าเราใช้เลนส์ที่เล็กกว่านี้ก็ซื้อ Adapter ที่เป็นไซด์ที่เราต้องการมาใส่ได้เลย เริ่มด้วยการเอา Adapter ใส่ที่ตัวเลนส์ก่อนเพราะถ้าเลนส์อยู่บนขาตั้งแล้วค่อยมาหมุนตัว Adapter เนี่ยมันจะใส่ยาก หรือทำให้เสียหายได้ พอจะใช้ FIlter แนะนำให้เอา Filter ใส่ Holder แล้วค่อยเอา Holder มาติดตั้งที่ Adapter Ring อีกที่นึง
ถ้าเกิดจะใช้ Filter PL ที่ใช้ตัดสะท้อนจากใบไม้ ท้องฟ้า ก้อนหิน ซึ่งเวลาติดตั้ง Filter PL แนะนำให้ถอด Adapter Ring ออกมาก่อน แล้วก็ตั้งขึ้นแล้วใส่ Filter PL เข้าไปด้านบน แล้วกดตัวหมุนแล้วหมุนเป็นวงกลมเท่านี้เอง Filter ที่ตกแตกนั้นเกิดมาจากการติดตั้งในท่าที่ไม่ปลอดภัย ใส่เสร็จแล้วก็หมุน Adapter เข้าไปกับเลนส์ หลังจากนั้นก็ลองดูว่าเราจะใช้ Filter อะไรบ้าง อย่างใช้ Filter ครึ่งซีก ก็ใส่ใน Holder ก่อน แล้วก็ใส่เข้าไป ปลอดภัยแน่นอน ไม่มีตก
การปรับ Filter ให้มองที่ช่องมองภาพแล้วค่อยขยับต่ำแหน่ง อย่ามองผ่านตาให้มองผ่านเลนส์ มันคงจะทางยาวโฟกัส effect ก็จะไม่เหมือนกัน และก็แนะนำให้กด Shutter ลงไปครึ่งนึง ทำให้เราเห็น Effect ของ Filter ครึ่งซีกว่าอยู่ตรงไหน ให้หรี่ช่องรับแสงไปที่จะใช้แล้วกดปุ่ม check Depth แล้วก็ดู Effect ของ Filter ใช้ได้ไหม ถ้าไม่ได้เราก็เลื่อน เวลาถ่ายจริงผมจะใช้สายกด Shutter เพราะผมจะถ่ายเป็น Time Lapse ลากประมาณ 15 นาที
การดูแลรักษา Filter Nisi จะเป็นแก้ว และจะมี Hard Coat กันรอยเพราะฉะนั้น การขูดขีดเป็นรอยจะยาก แต่ถ้าการตกแตกมี แต่ถ้าทำตามที่ผมบอกการตกแตกจะน้อยลงมาก การทำความสะอาด เวลาจับ FIlter ควรจะจับที่ขอบ และมือควรสะอาดก่อนใช้งาน พอจะใช้งาน ND ควรจะเอา โบเวอร์เป่าก่อนเพื่อเอาฝุ่นออกก่อน หลังจากนั้นให้ดูผิวหน้าว่าสกปรกอยู่ไหม ถ้าสกปรกเราก็เอาผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดทำความสะอาด ถ้ามันมีคราบไขมันหรือน้ำทะเล ผมไม่แนะนำให้เอาผ้าเช็ด แนะนำให้เอาน้ำยาล้างจานล้าง พอล้างเสร็จให้เป่าเอาน้ำออก แล้วค่อยเอาผ้าเช็ค ซึ่งจะทำให้ Filter สะอาด
Filter Nisi จะเป็นแก้ว และจะมี Hard Coat กันรอย พอจะใช้งาน ND ควรจะเอา โบเวอร์เป่าก่อนเพื่อเอาฝุ่นออกก่อน ถ้ามันมีคราบไขมันหรือน้ำทะเล แนะนำให้เอาน้ำยาล้างจานล้าง พอล้างเสร็จให้เป่าเอาน้ำออก แล้วค่อยเอาผ้าเช็ค ซึ่งจะทำให้ Filter สะอาด